วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การทำงานของระบบหัวใจ

โครงสร้างและพื้นผิวของหัวใจ

         สำหรับในร่างกายมนุษย์ หัวใจจะวางตัวอยู่ในช่องอกและเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ หัวใจจะมีน้ำหนักประมาณ 250-350 กรัม และมีขนาดประมาณสามในสี่ของกำปั้น แต่ในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจโต (cardiac hypertrophy) น้ำหนักของหัวใจอาจมากถึง 1000 กรัม หัวใจคนเรานั้นมี4ห้องคือ2ห้องบนและ2ห้องล่าง
        
ผนังหัวใจ
ผนังของหัวใจประกอบด้วยเนื้อเยื่อสามชั้น ได้แก่
เยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน (Epicardium) เป็นชั้นที่ติดต่อกับเยื่อหุ้มหัวใจด้านที่ติดกับหัวใจ (Visceral layer of pericardium) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรง
กล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardium) เป็นชั้นที่มีความหนามากที่สุด และประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจเกือบทั้งหมด
เยื่อบุหัวใจ (Endocardium) เป็นชั้นบางๆที่เจริญมาจากเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด




หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)
            มีหน้าที่รับเลือดที่มาจากหลอดเลือดดำใหญ่ซุพีเรียเวนาคาวา (superior vena cava) ซึ่งรับเลือดมาจากร่างกายส่วนบน และหลอดเลือดดำใหญ่อินฟีเรียร์เวนาคาวา (Inferior vena cava) รับเลือดมาจากร่างกายช่วงล่าง ผนังของหัวใจห้องนี้ค่อนข้างบาง โดยเฉพาะทางด้านที่ติดกับหัวใจห้องบนซ้าย จะมีรอยบุ๋มที่เรียกว่า ฟอซซา โอวาเล (Fossa ovale) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างหัวใจห้องบนทั้งสองห้องระหว่างที่อยู่ในครรภ์ โดยปกติจะไม่มีช่องเปิดใดๆ แต่ในกรณีที่รอยบุ๋มดังกล่าวนี้ยังคงเหลือช่องเปิดอยู่ อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจผิดปกติได้ เลือดจากหัวใจห้องบนขวาจะไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวา ผ่านทางลิ้นหัวใจไทรคัสปิด (Tricuspid valve)

หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)
            จะอยู่ทางด้านหน้าสุดของหัวใจ และพื้นผิวทางด้านหลังของหัวใจห้องนี้จะติดกับกะบังลม หัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่รับเลือดจากหัวใจห้องบนขวา แล้วส่งออกไปยังปอด ผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี (pulmonary valve) และหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary arteries) ที่ผนังของหัวใจห้องที่จะมีแนวของกล้ามเนื้อหัวใจที่สานต่อกัน และมีเอ็นเล็กๆที่ควบคุมลิ้นหัวใจไทรคัสปิด ซึ่งเรียกว่า คอร์ดี เท็นดินี (chordae tendinae) ซึ่งทำหน้าที่ยึดลิ้นหัวใจไทรคัสปิดไม่ให้ตลบขึ้นไปทางหัวใจห้องบนขวาระหว่างการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง ดังนั้นจึงป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)
              มีขนาดเล็กที่สุดในห้องหัวใจทั้งสี่ห้อง และวางตัวอยู่ทางด้านหลังสุด โดยหัวใจห้องนี้จะรับเลือดที่ได้รับออกซิเจนจากปอดผ่านทางหลอดเลือดดำพัลโมนารี (pulmonary veins) และจึงส่งผ่านให้หัวใจห้องล่างซ้ายทางลิ้นไมทรัล (Mitral valve)

หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)
             จัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุด ทำหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปยังทั่วทั้งร่างกายผ่านทางลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic valve) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta)

ลิ้นหัวใจ
         ลิ้นหัวใจเป็นแผ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งแรงที่ยื่นออกมาจากผนังของหัวใจ เพื่อควบคุมทิศทางการไหลของเลือดภายในหัวใจ ให้เป็นไปในทิศทางเดียว โดยอาศัยความแตกต่างของความดันโลหิตในแต่ละห้อง ลิ้นหัวใจที่สำคัญได้แก่

- ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid valve) 
          มีสามกลีบ (cusps) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนขวาและล่างขวา
- ลิ้นไมทรัล (Mitral valve) 
          มีสองกลีบ บางครั้งจึงเรียกว่า ลิ้นหัวใจไบคัสปิด (bicuspid valve) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย
- ลิ้นหัวใจพัลโมนารีเซมิลูนาร์ (pulmonary semilunar valve) 
          มีสามกลีบ อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างขวาและหลอดเลือดแดงพัลโมนารี
- ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic semilunar valve) 
          มีสามกลีบ อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่ ใกล้ๆกับโคนของลิ้นหัวใจนี้จะมีรูเปิดเล็กๆ ซึ่งเป็นทางเข้าของเลือดที่จะเข้าสู่ระบบหลอดเลือดหัวใจ

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การหาชีพจรเป้าหมาย (Target Heart Rate Calculator)

ตัวอย่าง การคำนวณชีพจร เป้าหมาย   (THR.)
          นักเรียนหญิงคนหนึ่ง อายุ 16 ปี ชีพจรขณะพัก (Resting H.R.) 65 ครั้ง/นาที ต้องการออกกำลังกายความหนักของชีพจร Working H.R. 50% ใช้เวลานาน 15 นาที ขึ้นไป เพื่อพัฒนาระบบหายใจ และการไหลเวียนเลือดให้แข็งแรง จงหาอัตราชีพจรเป้าหมายของนักเรียนหญิงคนนี้ว่าต้องออกกำลังกายให้อัตราชีพจรเต้นกี่ครั้ง/นาที ?
1. หาอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (Max.HR.)  =………….. ครั้ง/นาที
2. อัตราการเต้นของชีพจรเป้าหมาย (THR.) =………..ครั้ง/นาที
3. เมื่อ   คือ   Working H.R.
จากสูตร          THR.      =   x% (Max.HR – Resting H.R.) + Resting H.R.
วิธีทำ
          Max.HR.    = 22016
                             = 204
          THR.          = .50 (204 - 65.) + 65


คำตอบ           นักเรียนหญิงคนนี้ต้องออกกำลังกายให้ชีพจรเต้น    =   134. 5 ครั้ง/นาที

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ

ระบบกล้ามเนื้อ
      การหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าจะมีกระดูกและข้อต่อประกอบเป็นระบบโครงร่างของร่างกายเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวได้ แต่การเคลื่อนไหวที่แท้จริงอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ ในร่างกายของเราสามารถแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิดคือ กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle), กล้ามเนื้อเรียบ(smooth muscle), กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภานใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ จากคุณสมบัติของกล้ามเนื้อ 4 ประการ คือ ความามารถในการหดตัว (contractility), มีความไวต่อการกระตุ้น (excitability), ความสามารถในการยืด (extensibility), ความสามารถในการยืดหยุ่น(elasticity) ทำให้กล้ามเนื้อสามารถทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการควบคุม การเคลื่อนไหว (movement) ของร่างกาย, รักษารูปร่าง ท่าทาง (posture), การสร้างความร้อน (heat production) 
ในตอนแรกจะขอกล่าวถึงกล้ามเนื้อลายก่อน เพราะมีรายละเอียดมาก และทั้งนี้จะสามารถช่วยอธิบายถึงการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อชนิดอื่นได้ดีต่อไป
กล้ามเนื้อโครงร่าง หรือ กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle)
ผู้หญิงมี skeletal muscle ประมาณ 36 % ของน้ำหนักตัว ผู้ชายมี skeletal muscle ประมาณ 42 % ของน้ำหนักตัว
รูปที่ 1. แสดงโครงสร้างโดยรวมของ SKELETAL MUSCLE

       ลักษณะของ muscle fiber หรือ muscle cellรูปร่างของเส้นใยมีลักษณะเป็นทรงกระบอก (long cylindrical shape) มีนิวเคลียสหลายอัน (multinucleate) มีลักษณะเห็นเป็นลาย (striated)
นอกจากนิวเคลียสองค์ประกอบที่สำคัญของ muscle fiber หรือ muscle cell คือ (รูปที่ 2,3)
Cell membrane คือ Sarcolemma
Endoplasmic reticulum คือ Sarcoplasmic reticulum ทำหน้าที่เก็บ Ca2+ ไว้
Cytoplasm คือ sarcoplasm ประกอบด้วย
Mitochondria
Glycogen granule
Myofibril ประกอบด้วย myofilament 2 ชนิด คือ เส้นใยหนา (thick filaments) และ เส้นใยบาง (thin filaments)
Terminal cisternae เป็นส่วนของ sarcoplasmic reticulum ซึ่ง sarcoplasmic reticulum แต่ละเซลล์จะมี terminae cisternae 2 อัน
Transverse tubule (t-tubule) อยู่ระหว่าง terminae cisternae ทำหน้าที่ส่งผ่าน action potential ไปที่ muscle fiber ส่วนประกอบของ transverse tubule 1 อัน กับ terminae cisternae 2 อัน เรียกว่า triad
การเรียงตัวของ myofilament ใน myofibrils
การเรียงตัวของ myofilaments
การเรียงตัวของ myofilament ค่อนข้างเป็นไปอย่างมีระเบียบทำให้เห็นเป็นแถบจางแถบเข้ม ประกอบด้วย (รูปที่ 2,3)
  •   I-band : แถบสีจางบริเวณที่มี filament อย่างเดียว
  • A-band : แถบสีเข้มบริเวณที่มี thick และ thin filament ซ้อนกัน
  • Z-band : แบ่ง I-band ออกเป็น 2 ส่วน
  • H-zone : แถบสีจางใน A-band มี thick filament อย่างเดียว
  • M-line : แบ่ง Hzone ออกเป็น 2 ส่วน
1 SARCOMERE OR CONTRACTION UNIT
คือระยะจาก Z-line ถึง Z-line



รูปที่ 2 กายวิภาคของ skelatal muscle
รูปที่ 3 แสดงองค์ประกอบใน muscle fiber

  ทฤษฏีการเลื่อนซ้อนกันของ ( Sliding filament theory)
        ขณะมี contraction ของ muscle fiber , thin filament จะเคลื่อนที่เข้าหา M-line ทำให้ Z-line เคลื่อนที่เข้าหากัน
ในขณะที่กล้ามเนื้อ หรือ muscle fiber มีการหดตัว (contraction) จะพบ
  •  I-band แคบลง 
  • A-band ความยาวเท่าเดิม
  • H-zone แคบลง
  • Sarcomere แคบลง


  ระบบประสาทที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ (Nevous control of muscle contraction)
         Axon ของ motor nerve ผ่านมาตาม perimysium จากนั้นจึงแตกแขนงไปเลี้ยง muscle fiber
หน่วยยนต์ (motor unit) คือ motor neuron 1 ตัว กับ muscle fiber ที่เลี้ยงด้วยแขนงประสาทของ motor neuron นี้ทั้งหมด (6-30 fibers-1000 fibers) ( รูปที่ 4)

รูปที่ 4 แสดง motor units
รูปที่ 5 แสดง neuromuscular junction

การล้าของกล้ามเนื้อ ( fatique of muscle)

ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ 
 1.Red slow twitch ทำงานได้ดีขึ้นในสภาพ aerobic
 2.Fast twitch จะเปลี่ยนเป็น intermediate fiber
 3. ระบบไหลเวียนดีขึ้น
กล้ามเนื้อโต ( muscle hypertrophy)
จะมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของกล้ามเนื้อคือ
  •  Mitrochondria มีขนาดโตขึ้น
  • Glycolysis enzyme เพิ่มขึ้น
  • Glycolysis reserve เพิ่มขึ้น
  • จำนวน myofibrils เพิ่มขึ้น
  • จำนวน thick และ thin filament ใน myofibril เพิ่มขึ้น
  • จำนวน muscle fiber ไม่เพิ่มขึ้นแต่ diameter เพิ่มขึ้น เมื่อมีการหดตัวของกล้ามเนื้อทำให้ได้ tension สูงขึ้น


ชนิดของการหดตัว ( type of contracton)1. Twitch เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ภาพบันทึกการหดตัวจาก myogram พบว่าแบ่งระยะของ twitch contraction ได้เป็น 3 ระยะ
1.1. Latent period เกิดจากเวลาที่ใช้ในการปล่อย Ca++ จาก SR และเวลา
1.2. Contraction period ใช้เวลาประมาณ 40 msec เป็นเวลาที่ใช้สำหรับการทำงานของ crossbridge ในการดึงใยกล้ามเนื้อให้สั้นเข้า
1.3. Relaxation period ใช้เวลาประมาณ 50 msec เป็นเวลาที่ใช้ขนส่ง Ca++ กลับเข้า SR ( รูปที่ 10)
กล้ามเนื้อแต่ละแห่งจะมีช่วงเวลาของการหดตัวทั้ง 3 ระยะแตกต่างกัน (รูปที่ 11)
2.Wave summstion เกิดขึ้นเมื่อมีตัวกระตุ้นสองตัวมากระตุ้นกล้ามเนื้อและตัวกระตุ้นตัวที่สองนั้นส่งมาก่อนที่กล้ามเนื้อจะคลายตัวจะทำให้การหดตัวครั้งที่สองมีความสูงมากกว่าครั้งแรก เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Wave summation ( รูปที่ 11)
3.Incomplete tetanus เมื่อนำกล้ามเนื้อน่องของกบมากระตุ้นด้วยความถี่ 20-30 ครั้ง/วินาที กล้ามเนื้อจะมีการคลายตัวได้บ้าง
4.Complete tetanus จากข้อ 3 ถ้าเพิ่มความถี่เป็น 35-50 ครั้ง/วินาที จะทำให้กล้ามเนื้อหดตัวค้าง (รูปที่ 11)
5.Treppe มีการเพิ่มการหดตัวสูงขึ้น หลังจากให้การกระตุ้นซ้ำในช่วงที่มีการคลายตัวของกล้ามเนื้ออย่างสมบูรณ์แล้ว
ชนิดของการหดตัวทางเชิงกล
1.Isometric contraction
   การหดตัวชนิดนี้ความยาวของกล้ามเนื้อคงที่ ตัวอย่างเช่นการใช้มือยกน้ำหนักโดยใช้กล้ามเนื้อ bicep ออกแรงดึงให้ข้อศอกงอในระยะแรกที่ยังยกวัตถุไม่ขึ้นเนื่องจากแรงของกล้ามเนื้อน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ ความยาวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยน แต่ความตึงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (รูปที่ 12)
2.Isotonic contraction
   การหดตัวชนิดนี้ความตึงของกล้ามเนื้อคงที่ ตัวอย่างเหตุการณ์ต่อจากข้อ 1 คือ ต่อมาเมื่อแรงตึงของกล้ามเนื้อมากกว่าน้ำหนักวัตถุแขนจะงอและยกน้ำหนักขึ้นกล้ามเนื้อจะหดสั้นเข้า
การทำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายส่วนใหญ่มักจะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง Isometric และ Isotonic contraction ( รูปที่ 12)
3.Contracture
กล้ามเนื้อหดตัวค้าง เนื่องจากถูกกระตุ้นให้หดตัวถี่ๆทำให้คลายตัวไม่ได้เนื่องจากขาด ATP
รูปที่ 10 a) แสดงความแตกต่างของเวลาการเกิด twitch contraction ในกล้ามเนื้อลายแต่ละแห่ง b) แสดงเวลาการเกิด twitchcontraction โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ
รูปที่ 12 a,b แสดงการหดตัวแบบ isotonic contraction และ c,d แสดงถึง isometric contraction

แรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ( force of contraction) ขึ้นอยู่กับ
1. จำนวนของ motor unit และจำนวนของ muscle fiber (number of motor unit recuited number of muscle fiber stimulated) ที่ถูกกระตุ้นถ้ามีจำนวน motor unit หรือ muscle fiber มากจะทำให้แรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อมาก
2. ขนาดของกล้ามเนื้อ (size of muscle) ถ้ากล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่จะได้รับแรงมาก
3. ระดับของการยืดกล้ามเนื้อ (degree of muscle stretch)
การคลายตัวของกล้ามเนื้อ ( Relaxztion of muscle)
เมื่อ Ach ที่หลั่งมาจากปลาย axon จับกับ receptor ที่ sarcolemma ทำให้เกิด action potential เมื่อมีการคลายตัวของกล้ามเนื้อ Ach จะถูกสลายด้วย Ach E การเปลี่ยนแปลงของ membrane potential ที่ T-tibule เกิดไม่นาน Ca++ ถูก pump กลับเข้า terminal cisternae ทำให้ไม่มี Ca++ จับกับ troponin C
Troponin-tropomyosin complex บัง active site บน actin จึงไม่เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ
รูปที่ 9 แสดงเหตุการณ์ excitation-contraction coupling ของกล้ามเนื้อลาย

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การนวดคลายเครียด

ความเครียด เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง เลือดไหวเวียนไม่สะดวก ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดหลัง เป็นต้น
การนวด จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง สบายตัว หายเครียด และลดอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ลง
การนวดที่จะนำเสนอในที่นี้ เป็นการนวดไทย ซึ่งสามารถนวดได้ด้วยตนเอง และเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่า และไหล่ อันสาเหตุมาจากความเครียด

ข้อควรระวังในการนวด
1. ไม่ควรนวดขณะที่กำลังเป็นไข้ หรือกล้ามเนื้อบริเวณนั้นอักเสบ หรือเป็นโรคผิวหนัง ฯลฯ
2. ควรตัดเล็บให้สั้นก่อนนวดทุกครั้ง

หลักการนวดที่ถูกวิธี
1. การกด ให้ใช้ปลายนิ้วที่ถนัด ได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ หรือนิ้วกลาง
2. ในที่นี้การนวดจะใช้การกด และการปล่อยเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้เวลากดแต่ละครั้งประมาณ 10 วินาที และใช้เวลาปล่อยนานกว่าเวลากด
3. การกดให้ค่อย ๆ เพิ่มแรงทีละน้อย และเวลาปล่อยให้ค่อย ๆ ปล่อย
4. แต่ละจุด ควรนวดซ้ำประมาณ 3-5 ครั้ง
จุดที่นวดมีดังนี้
1. จุดกลางระหว่างคิ้ว ใช้ปลายนิ้วชี้ หรือนิ้วกลางกด 3-5 ครั้ง


2. จุดใต้หัวคิ้ว ใช้ปลายนิ้วชี้ หรือนิ้วกลางกด 3-5 ครั้ง
3. จุดขอบกระดูกท้ายทอย จุดกลาง ใช้นิ้วหัวแม่มือกด 3-5 ครั้ง จุดสองจุดด้านข้าง ใช้วิธีประสานมือบริเวณท้ายทอย แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดจุดสองจุดพร้อม ๆ กัน 3-5 ครั้ง
4. บริเวณต้นคอ ประสานมือบริเวณท้ายทอย ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดตามแนวสองข้างของกระดูกต้นคอ โดยกดไล่จากตีนผมลงมาถึงบริเวณบ่า 3-5 ครั้ง
5. บริเวณบ่า ใช้ปลายนิ้วมือขวาบีบไหล่ซ้าย ไล่จากบ่าเข้าหาต้นคอ ใช้ปลายนิ้วมือซ้ายบีบไหล่ขวา ไล่จากบ่าเข้าหาต้นคอ ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
6. บริเวณบ่าด้านหน้า ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดจุดใต้กระดูกไหปลาร้า จุดต้นแขน และจุดเหนือรักแร้ของบ่าซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดจุดเดียวกันที่บ่าขวา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
7. บริเวณบ่าด้านหลัง ใช้นิ้วมือที่ถนัดของมือขวาอ้อมไปกดจุดบนและจุดกลางของกระดูกสะบัก และจุดรักแร้ด้านหลังของบ่าซ้าย ใช้นิ้วมือที่ถนัดของมือซ้าย กดจุดเดียวกันที่บ่าขวา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

การออกกำลังกายในน้ำ



     การว่ายน้ำได้รับความนิยมจากประชาชน แต่ยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากขาดแคลนสระว่ายน้ำ การว่ายน้ำหรือออกกำลังในน้ำ นอกจากจะมีผลดีต่อสุขภาพแล้ว ยังมีผลดีต่อสุขภาพจิตด้วย และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังบนบก เช่นผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมเป็นต้น

การออกกำลังในน้ำให้ประโยชน์อะไรบ้าง
  - ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  - ทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น
  - กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น และมีความอดทนเพิ่มขึ้น
  - การทรงตัวดีขึ้น
  - ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
  - ใช้ในการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังได้รับอุบัติเหตุ
  - ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการลดน้ำหนัก
  - ลดความเครียด

วิธีออกกำลังกายในน้ำมีอะไรบ้าง
ตัวอย่างท่าการออกกำลังกายในน้ำ

   การเดินหรือการวิ่งในน้ำ น้ำในระดับเอวหรือระดับหน้าอกจะช่วงพยุงน้ำหนักของร่างกาย ที่กดลงบนเข่าเมื่ออกกำลังจะทำให้มีอาการปวดเข่า หรือข้ออักเสบน้อยกว่าการวิ่งบนบก นอกจากนั้นแรงต้านของน้ำจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และใช้พลังงานมากกว่าการเดินบนบก
   - การเต้น Aerobic ในน้ำ( Water aerobics ) เพียงครั้งละ 20 นาทีก็สามารถทำให้หัวใจแข็งแรง
   - การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ( Water toning/strengthening training) โดยการเคลื่อนไหวร่างกายต้านกระแสน้ำ หรืออุปกรณ์เพื่อเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
   - การฝึกการเคลื่อนไหวของข้อ( Flexibility training)เพื่อให้ได้มีการเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่
   - ธาราบำบัด(Water therapy and rehabilitation) ใช้ในการบำบัดทางการแพทย์ เช่นการฝึกเดิน การลดอาการปวด
   - การทำโยคะในน้ำ (Water yoga and relaxation ) เป็นการฝึกโยคะในน้ำเพื่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และประคองการทรงตัว
   - การออกำลังในน้ำลึก( Deep-water exercise) เป็นการออกกำลังในน้ำลึกโดยที่เท้าไม่สัมผัสพื้น โดยใช้อุปกรณ์ช่วยลอยตัว
   - การวิ่งในน้ำลึก(Deep-water jogging/ running ) เหมือนกับการวิ่งบนบก แต่เท้าไม่สัมผัสพื้นโดยใช้อุปกรณ์ช่วยลอยตัว
   - การออกกำลังโดยใช้กำแพง( Wall exercises)
การว่ายน้ำ

การออกกำลังในน้ำสำหรับผู้ที่มีข้ออักเสบ
      ผู้ที่มีข้ออักเสบมักจะมีปัญหาเมื่อเวลาออกกำลังกาย เนื่องจากข้อจะได้รับแรงกระแทกจากการออกกำลัง ทำให้เกิดการอักเสบ และอาการปวดของข้อ การออกกำลังกายในน้ำจะช่วยลอปัญหาปวดข้อลงได้

ทำไมต้องออกกำลังในน้ำ
  - กระแสน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปวด และอาการข้อติด
  - กระแสน้ำอุ่นจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  - น้ำจะช่วยลดแรงกระแทกข้อจากการออกกำลัง ทำให้ลดการเสื่อมของข้อ
  - แรงต้านของน้ำจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
  - กระแสน้ำจะช่วยนวดให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย

การออกกำลังในน้ำที่บ้าน
     หากท่านที่ชอบออกกำลังกายในน้ำ และรู้สึกว่าจะได้ประโยชน์ และท่านมีกำลังทรัพย์มากพอ ท่านอาจจะสร้างสระว่ายน้ำ หรืออ่างอาบน้ำที่สามารถฉีดน้ำอุ่นไว้ใช้ที่บ้าน ขนาดที่ซื้อจะต้องขึ้นกับชนิดของการออกกำลังกาย ถ้าเป็นสระก็สามารถเดินออกกำลังในน้ำ หากเป็นอ่างก็มีข้อจำกัดในการออกกำลัง

ข้อแนะนำสำหรับการออกกำลังในสระน้ำหรือ spa หรืออ่างน้ำอุ่น
   - ท่านต้องปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนที่จะใช้น้ำร้อนในการออกกำลังกาย
   - น้ำที่ใช้ควรมีอุณหภูมิระหว่าง 83 ถึง 88 F
   - น้ำที่ใช้สำหรับแช่ควรจะมีอุณหภูมิ 98ถึง 104 Fและแช่เป็นเวลา 10-15 นาที
   - ควรจะเริ่มที่อุณหภูมิไม่สูงก่อน และค่อยเพิ่ม
   - เด็กและผู้สูงอายุอาจจะเกิดปัญหาเรื่องอุณหภูมิในร่างกายสูงไป ต้องระวัง
   - สำหรับผู้สูงอายุ หรือมีข้ออักเสบ จะต้องมีคนคอยช่วยเหลือ เวลาขึ้นหรือลงจากสระหรืออ่าง
   - สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
   - ควรตรวจอุณหภูมิของน้ำก่อน และระหว่างอยู่ในน้ำ
   - ไม่ควรใช้น้ำร้อนหลังจากดื่มสุรา เพราะอาจจะทำให้ท่านหมดสติ
   - คนท้องไม่ควรแช่น้ำร้อน

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ระบบกระดูก

ระบบกระดูกและข้อต่อที่สำคัญต่อการออกกำลังกาย



ส่วนประกอบของกระดูก
              กระดูกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ชนิดหนึ่ง มีโครงสร้างเป็นกระดูกพรุนและกระดูกทึบ ระบบกระดูกหรือระบบโครงสร้าง ประกอบด้วย
1.กระดูกแข็ง (Bone) มี 206ชิ้น ทั้งร่างกายประกอบกันเป็นโครงร่าง
2. กระดูกอ่อน (Catilage)
3. เอ็น (ligament)
4. ข้อต่อ (Joint)

หน้าที่ของกระดูกโดยทั่วไป
1. เป็นโครงสร้างของร่างกายร่วมกับกล้ามเนื้อ 
2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็นและพังพืด
3. ป้องกันอันตรายแก่อวัยวะภายในร่างกาย
4. ผลิตเม็ดเลือด
5. เป็นแหล่งสำรองแคลเซียมของร่างกาย
6. ช่วยในการเคลื่อนไหว

 กระดูกแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
   1. กระดูกแกนกลาง (Axial Skeleton) มี80 ชิ้น ประกอบด้วย 
       - กระดูกบริเวณศรีษะ (Skull) 29 ชิ้น
       - กระดูกลำตัว (Trunk) 51 ชิ้น
   2. กระดูกรยางค์หรือแขน - ขา (Appendicular skeleton) มี 126 ชิ้น ประกอบด้วย
       - กระดูกแขน (Upper extremities) มี 64 ชิ้น
       - กระดูกขา (Lower extremities ) มี 62 ชิ้น


 

กระดูกจะแนกตามรูปร่างได้ 4 ชนิด (Type of bones)
1. กระดูกยาว (Long bones) 90 ชิ้น
2. กระดูกสั้น (Short bones) 30 ชิ้น
3. กระดูกแบน (Flat bones) 
4. กระดูกรูปร่างแปลก ไม่แน่นอน (Irregular of special bones) 46 ชิ้น